เช็กเลย!! สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เผย ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ เดือนพฤศจิกายน 2564 มี ฝนดาวตก 2 ครั้ง
ฝนดาวตก เดือนพฤศจิกายน
แฟนเพจ NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) เผยปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ที่น่าสนใจในเดือนพฤศจิกายน 2564 ดังนี้
วันที่ 2 พฤศจิกายน 2564 ดาวพุธเคียงดาวสไปกา
วันที่ 8 พฤศจิกายน 2564 ดาวศุกร์เคียงดวงจันทร์
วันที่ 10 พฤศจิกายน 2564 ดาวเสาร์เคียงดวงจันทร์
คืนวันที่ 12 พฤศจิกายน – เช้า 13 พฤศจิกายน 2564 ฝนดาวตกทอริดส์เหนือ (อัตราการตก 5 ดวงต่อชั่วโมง/ไม่มีแสงจันทร์รบกวน)
คืนวันที่ 17 พฤศจิกายน – เช้า 18 พฤศจิกายน 2564 ฝนดาวตกลีโอนิดส์ (อัตราการตก 10 ดวงต่อชั่วโมง/มีแสงจันทร์รบกวน) ปีนี้ไม่เหมาะแก่การสังเกตการณ์
ฝนดาวตก คือดาวตกหลายดวงที่เหมือนกันออกมาจากบริเวณเดียวกันในท้องฟ้าช่วงเวลาเดียวกันของปี ซึ่งเกิดจากเศษชิ้นส่วนในอวกาศที่พุ่งเข้าบรรยากาศโลกด้วยอัตราเร็วสูง แต่ละคราวที่ดาวหางเข้ามาใกล้ดวงอาทิตย์ จะมีเศษชิ้นส่วนขนาดเล็กของดาวหางถูกสลัดทิ้งไว้ตามทางโคจร เรียกว่า “ธารสะเก็ดดาว” หากวงโคจรของโลกและของดาวหางซ้อนทับกัน โลกจะเคลื่อนที่ผ่านธารสะเก็ดดาวในช่วงวันเดียวกันของแต่ละปี ทำให้เกิดฝนดาวตก
การที่สะเก็ดดาวในธารเดียวกัน เคลื่อนที่ขนานกันและมีอัตราเร็วเท่ากัน ดาวตกที่เราเห็นจึงดูเหมือนพุ่งออกมาจากจุดเดียวกันในท้องฟ้า ซึ่งเป็นผลจากทัศนมิติ (perspective) เปรียบเหมือนกับที่เราเห็นรางรถไฟไปบรรจบกันที่ขอบฟ้า เมื่อยืนดูจากกลางราง
ติดตามข่าวอื่น ๆ ได้ที่ Poodtueng.com